หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559
ปรัชญา
ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
“เป็นเลิศวิชาการ สานสร้างศิลปกรรม เชิดชูคุณธรรม มุ่งนำสู่สากล”
ความสำคัญ
การศึกษาหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดแนวความคิดสร้างสรรค์
สำหรับการออกแบบของบัณฑิตในอนาคต เพื่อสร้างงานที่เข้ากับนวัฒนธรรมขององค์กร
มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีให้มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางด้านการออกแบบนิเทศศิลป์
- มีทัศนคติในการแสวงหาความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และประสบการณ์ในด้านการออกแบบในวิชาเอกคอมพิวเตอร์กราฟิก วิชาเอกออกแบบกราฟิกและโฆษณา และวิชาเอกโทรทัศน์และดิจิตอลมีเดีย
- สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ พัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับปรัชญาของคณะฯ และมหาลัย
- สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีพและนำประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาและสร้างสรรค์สังคม
- เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม สำนึกในวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศิลป์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Visual Communication Design
ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศิลป์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Visual Communication Design
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (นิเทศศิลป์)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts (Visual Communication Design)
อักษรย่อภาษาไทย: ศป.บ. (นิเทศศิลป์)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.F.A. (Visual Communication Design)
ชื่อปริญญาภาษาไทย: ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (นิเทศศิลป์)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts (Visual Communication Design)
อักษรย่อภาษาไทย: ศป.บ. (นิเทศศิลป์)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.F.A. (Visual Communication Design)
วิชาเอก
- วิชาเอกคอมพิวเตอร์กราฟิก
- วิชาเอกออกแบบกราฟิกและโฆษณา
- วิชาเอกโทรทัศน์และดิจิตอลมีเดีย
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30
หน่วยกิต
-กลุ่มวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร ไม่น้อยกว่า
12 หน่วยกิต
-กลุ่มวิชาอัตลักษณ์และคุณภาพชีวิตบัณฑิตบูรพา ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
-กลุ่มวิชาทักษะชีวิตและความรับผิดชอบต่อสังคม
และสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า
7 หน่วยกิต
-กลุ่มวิชานวัตกรรมและความคิกสร้างสรรค์ ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
-กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่น้อยกว่า
3 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 100 หน่วยกิต
-วิชาแกน 6
หน่วยกิต
-วิชาเฉพาะด้าน 15
หน่วยกิต
-วิชาเอก 49
หน่วยกิต
-วิชาเอกเลือก 30 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี
ไม่น้อยกว่า 6
หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
- รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร มุ่งเน้นให้นิสิต
เห็นความต้องการของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ผ่านการเรียนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะของคณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวคือ
มีการนำปัญหาการออกแบบ หรือโครงการออกแบบจากหน่วยงานภายนอก
มาเป็นส่วนปฏิบัติงานให้นิสิตได้ทดลองปฏิบัติงาน ในลักษณะ Art Project Base
Learning (APBL) โดยหวังผลสัมฤทธิ์ ต่อสังคมในระดับบอใจ โดยคำนึงถึงวิถีการออกแบบ
ที่แสดงอัตลักษณ์เฉพาะของไทย สู่การออกแบบร่วมสมัย
การเรียนการสอนในลักษณะนี้จะเป็นการเรียนการสอนที่มีลักษณะกึ่งการวิจัยและพัฒนา (R&D)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ประกอบวิชาชีพศิลปิน นักออกแบบสร้างสรรค์ กราฟิกดีไซน์เนอร์, นักออกแบบโฆษณา, นักออกแบบทางคอมพิวเตอร์กราฟิก, นักสร้างภาพเคลื่อนไหว, นักออกแบบโมเดล 3 มิติ, นักออกแบบ สื่อทางโทรทัศน์, นักออกแบบสื่อทางมัลติมีเดีย โดยเน้นทางการออกแบบสื่อสาร เป็นหลัก
ประกอบวิชาชีพศิลปิน นักออกแบบสร้างสรรค์ กราฟิกดีไซน์เนอร์, นักออกแบบโฆษณา, นักออกแบบทางคอมพิวเตอร์กราฟิก, นักสร้างภาพเคลื่อนไหว, นักออกแบบโมเดล 3 มิติ, นักออกแบบ สื่อทางโทรทัศน์, นักออกแบบสื่อทางมัลติมีเดีย โดยเน้นทางการออกแบบสื่อสาร เป็นหลัก
ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง และคุณวุฒิของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
นายกฤษฎา แสงสืบชาติ
นายกฤษฎา แสงสืบชาติ
- ศป.ม. (ศิลปะสมัยใหม่), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2540
- ศศ.บ. (นิเทศศิลป์), สถาบันราชภัฏพระนคร, 2537
- ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
นายชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ
- ค.อ.ม. (เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ, 2540
- กศ.บ. (ศิลปศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน, 2526
- ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
นางสุพิศ เสียงก้อง
- สถ.ม. (สถาปัตยกรรมภายใน), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง, 2544
- สถ.บ. (ศิลปอุตสาหกรรม), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง, 2535
- ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์
หากผู้อ่านต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปติดต่มได้ที่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น